ASUS ESC4000A-E10 "มุ่งสู่ความเป็นหนึ่งอย่างไร้ขีดจำกัดด้วยเซิร์ฟเวอร์ระดับไฮเอนด์”
ผมเชื่อว่าหลายคนในวงการกราฟิกเคยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เวิร์คสเตชั่นคอมพิวเตอร์ หรือเซิร์ฟเวอร์ แบบ "multi-CPU" ในการทำงาน แต่ด้วยข้อจำกัดในการเพิ่มจำนวนการ์ดจอที่จะช่วยให้งานเสร็จเร็วขึ้น ผู้ที่ทำงานสายนี้ในไต้หวันก็ประสบกับปัญหานี้อยู่บ่อย ๆ และเป็นข้อจำกัดอย่างมาก แต่พวกเราเหล่าบรรณาธิการก็ได้ค้นพบทางออกของปัญหานี้ด้วย ASUS ESC4000A-E10 เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์กราฟิกขนาด 2U ที่มาพร้อม AMD EPYCTM 7742 ซีพียู 64 คอร์ 128 เธรด และซีพียูซีรีส์นี้มีการทุบสถิติโลกมากกว่า 170 รายการจนถึงตอนนี้ ซึ้งพละกำลังของมันจะเหนือชั้นขนาดไหนพวกเราจะมาทดสอบให้ดูกัน!
สเปค ASUS ESC4000A-E10
ซีพียู : AMD EPYCTM 7002
สล็อต : PCIe® 4.0 สูงสุด 11 ช่อง รองรับกราฟิกการ์ดแบบ dual-socket 4 ตัวหรือ single-socket แปดตัว
รองรับบริดจ์ NVIDIA® NVLink
พาวเวอร์ซัพพลาย : 2200W หรือ 1600W แพลตตินัม
ASUS ESC4000A-E10 ถูกพัฒนาขึ้นมาพร้อมกับซีพียู AMD EPYCTM 7002 series 64 คอร์ 128 เธรด ที่ใช้กระบวนการผลิตขั้นสูง 7nm โดย TSMC, รองรับบัส PCI-Express 4.0 ถึง 11 ช่อง ที่ใส่การ์ดจอแบบสล๊อตเดี่ยวได้ถึง 8 ตัว รองรับทั้งซีรีย์ Quadro และ Tesla และยังสามารถใช้งานกับ NV-Link ได้อีกด้วย, รองรับหน่วยความจำ DDR4-3200 สูงสุด 8 แชนแนล, ในส่วนของอุปกรณ์เก็บข้อมูลมีช่องเสียบฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 3.5” ด้านหน้า 8 ช่องและรองรับ NVMe SSD สูงสุด 4 ตัว และยังสามารถติดตั้งตัวแปลงการ์ด M.2 หรือการ์ด HBA/RAID เพื่อเพิ่มความเร็วและความเสถียรในการเข้าถึงข้อมูลได้อีกด้วย โดยทั้งหมดนี้ขับเคลื่อนผ่านตัวจ่ายพลังงาน 2200W Platinum 2 ตัว ซึ่งเพียบพร้อมสำหรับการอัพเกรดในอนาคตได้อีกนานหลายปี
สถาปัตยกรรม NVIDIA TURING GPU: มาพร้อมกับ RTCore ที่มากถึง 576 Tensor cores ที่จำเป็นสำหรับการประมวลผลแบบ AI และ 4608 CUDA cores ที่จำเป็นสำหรับการประมวลผลแบบขนาน นั่นทำให้ NVIDIA Turing เป็น GPU ที่ล้ำหน้าที่สุดในโลก
การทดสอบประสิทธิภาพการทำงาน
เนื่องจากผมได้รับเกียรติให้ประเมินความสามารถในการประมวลผลของเจ้าเซิร์ฟเวอร์ตัวนี้ ดังนั้นซอฟต์แวร์ที่เลือกสำหรับการประเมินจะต้องเป็นรุ่นล่าสุด และดีที่สุดในอุตสาหกรรมการออกแบบ ได้แก่ AUTODESK 3ds Max 2021, Phoenix FD 4, V-Ray 5 และ Lumion Pro 10.5 มาดูกันว่าผลออกมาจะเจ๋งแค่ไหน?
บททดสอบแรก : Lumion Pro 10.5 สร้างและเรนเดอร์ภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติในระดับ 4K
Lumion Pro 10.5 โปรแกรมสำหรับสร้างซีนอนิเมชั่นแบบ 3 มิติ โดยเราจะทดสอบการเรนเดอร์ภาพเคลื่อนไหวของวัตถุแบบไดนามิก 3 มิติ ขนาด 30.7 ล้านพิกเซล เราได้ค่า FPS เฉลี่ยระหว่างการตัดต่อมากกว่า 35 เฟรมต่อวินาทีซึ่งถือว่าลื่นไหลมาก หลังจากเพิ่มเอฟเฟกต์พิเศษต่าง ๆ จนครบแล้ว FPS อยู่ที่ประมาณ 15 เฟรม ส่วนเอาท์พุตแอนิเมชั่นเราจะใช้ความละเอียด 4K (3840*2160) วิดีโอความยาว 41 วินาที (1,232 เฟรม) คุณภาพของเอาต์พุตจะอยู่ที่ 3 ดาว และการเรนเดอร์จะเสร็จสิ้นใน 1 ชั่วโมง 7 นาที
Youtube :
บททดสอบที่ 2: Phoenix FD 4 ปลั๊กอินการจำลองอนิเมชั่นการไหลของน้ำบน 3ds Max 2021
ขั้นแรกเราจะใช้ Phoenix FD 4 เพื่อจำลองเรือที่กำลังแล่นอยู่ในมหาสมุทร เอฟเฟกต์คลื่นน้ำกระเซ็นและฟองอากาศ รวม 900 เฟรม (ความยาว 30 วินาที) ช่วงการจำลองคือ 800*400*256 pixel (81,920,000 เซลล์) และจำนวนอนุภาคที่ผลิตได้ทั้งหมดมีจำนวนสูงถึง 40,322,161 par โดย ASUS ESC4000A-E10 ใช้เวลา 20 ชั่วโมง 57 นาทีในการจำลอง เมื่อแปลงแล้ว ใช้เวลาเพียง 1 นาที 16 วินาทีสำหรับแต่ละเฟรม ซึ่งถือว่าเร็วมาก ด้วยขนาดข้อมูลการจำลองที่สูงถึง 243 GB ดังนั้นหากคุณต้องการเอฟเฟกต์คลื่นน้ำที่สมจริง มันเป็นไปไม่ได้เลยหากไม่มีคอมพิวเตอร์ที่ดี!
ผลการทดสอบ Phoenix FD4
[GRID: 81 920 000 cells, 800x400x256]
- Liquid/Temperature (0.00 : 1.00)
[PARTICLES: 40 322 161 total]
- Liquid: 38 593 917 (Pos,Vel,ID)
- Foam: 1 077 488 (Pos,Size,Age,ID)
- Splashes: 25 839 (Pos,Vel,Size,ID)
- Mist: 467 247 (Pos,Size,ID)
- WetMap: 157 670 (Pos,Size,ID)
* Simulated with v4.20.00, Build ID: 20200616 for 3ds Max 2021 from Jun 16 2020
บททดสอบที่ 3: VRay 5 ปลั๊กอินสำหรับ 3ds Max 2021-4K เพื่อการเรนเดอร์แสงและเงาที่สมจริง
ความละเอียดทั้งหมดในฉากทดสอบประมาณ 6.25 ล้าน ใช้การเรนเดอร์แบบโปรเกรสซีฟ ไม่มีการจำกัดเวลาในการคำนวณค่าการแบ่งส่วนสูงสุด (ฉากทั่วไปตั้งไว้ที่ 24 ถึง 32 ซึ่งมีรายละเอียดมาก) GI ใช้แค่ Brute Force ซึ่งสามารถวัดความแรงที่แท้จริงของ CPU และ GPU ได้ดีที่สุด เพื่อให้ผู้อ่านได้สัมผัสถึงพลังการประมวลผลที่แท้จริง คราวนี้ ผมจะนำแล็ปท็อปที่บรรณาธิการใช้เพื่อเปรียบเทียบ โดยมีสเปคคร่าว ๆ ตามนี้ครับ Intel® CoreTM i7-8700K, DDR4-32GB, NVIDIA® GeForce® GTX 1070
มาเริ่มกันที่ส่วนของ CPU ซึ่งผลออกมาแตกต่างตามที่คาดไว้ คะแนนความเร็วในการประมวลผลของแล็ปท็อป CPU 6 คอร์ 12 เธรด * 4.7 (GHz) อยู่ที่ 56.4 คะแนน และ ESC4000A- E10 64คอร์ 128 เธรด * 3.4 (GHz) อยู่ที่ 435.2 คะแนนซึ่งมีประสิทธิภาพการประมวลผลแตกต่างกันประมาณ 7.7 เท่า ผลการเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่าใช้เวลาในการเรนเดอร์ลดลงถึง 7.5 เท่า เมื่อใช้ ESC4000A-E10 หากเทียบในเรื่องของเวลาและราคาค่อนข้างมีความใกล้เคียงกันระหว่าง ESC4000A-E10 กับ AMD EPYCTM 7742 CPU ซึ่งทั้งสองสามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตผลงานและการจัดการฟาร์มกราฟิกได้อย่างมาก ESC4000A-E10 มาพร้อมกับการ์ดกราฟิกการ์ด Quadro RTX 6000 24GB จำนวน 4 ตัว ซึ่งใช้เวลาเพียง 15 นาที 19 วินาทีในการเรนเดอร์ให้เสร็จ ในการเปรียบเทียบภาพการเรนเดอร์ GPU และ CPU เห็นได้ชัดว่าทั้งสองไม่มีความแตกต่างกันมากนัก อย่างไรก็ตาม ความสมจริงโดยรวมก็ใกล้เคียงกับแสงและเงาที่กระทบวัตถุจริงมากยิ่งขึ้น ESC4000A-E10 ทำการทดสอบได้สำเร็จ จะเห็นได้ว่า หากคุณต้องการใช้ GPU ในการเรนเดอร์ ไม่เพียงแต่ข้อกำหนดของ GPU จะต้องดีพอ แต่หน่วยความจำระบบพื้นฐานยังต้องเข้าคู่กันเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง
แล๊ปท็อป CPU: 15 ชั่วโมง 07 นาที 47 วินาที ESC4000A-E10: 02 ชั่วโมง 01 นาที 53 วินาที
แล็ปท็อป GPU: ไม่สามารถรันข้อมูลได้ ส่วน ESC4000A-E10: 15 นาที 19 วินาที
เวลาในการเรนเดอร์ลดลงอย่างมาก และความสมจริงโดยรวมและผลงานสามมิตินั้นใกล้เคียงกับภาพถ่ายจริงมากขึ้น
ทำไมถึงแนะนำ
AMD EPYCTM 7742 และ Intel® Xeon® Platinum 8268 เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาเท่ากันในตลาด แต่สามารถให้พลังประมวลผลได้มากกว่า 200% เมื่อเทียบกับเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป นอกจากนี้ ESC4000A-E10 ที่เน้นการประมวลผลด้วย GPU ที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ประหยัดต้นทุนในการซื้อเครื่องหลักได้ด้วยข้อกำหนด PCIE 4.0 ที่มาอย่างเพียงพอต่อการใช้งาน และยังรองรับ NVME SSD ถึง 4 ตัว หากคุณต้องการสร้างเซิร์ฟเวอร์ที่มีฟังก์ชันการทำงานที่ครอบคลุม พลังประมวลผลสูง ประหยัดพื้นที่ห้อง และค่า CP สูง ผมเชื่อว่าไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีไปกว่า ASUS ESC4000A-E10
ที่มา :